ขั้นที่ 3. จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนหงาย
ถ้าผู้หมดสติอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสองข้างเหยียดอยู่ข้างลำตัว
หมายเหตุ: กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือสงสัยการบาดเจ็บที่คอและหลัง การจัดท่าต้องระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และลำคอตัวตรึงเป็นแนวเดียวกันไม่บิดงอ มิฉะนั้นผู้หมดสติอาจกลายเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังที่หักอยู่แล้วกดทับแกนประสาทสันหลังได้
ขั้นที่ 4. เปิดทางเดินลมหายใจ
ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินลมหายใจ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้หมดสติยังหายใจได้ ในจังหวะหายใจเข้าจะเกิดแรงดูดเอา ลิ้นลงไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจมากกว่าเดิม ต้องช่วยยกกระดูกกรรไกรล่างขึ้น ลิ้นซึ่งอยู่ติดกับกระดูก ขากรรไกรล่างจะถูกยกขึ้นทำให้ทางเดินลมหายใจเปิดโล่งการเปิดทางเดินลมหายใจมีสองวิธี คือ
วิธีดันหน้าผากและดึงคาง (head tilt-chin lift)
ใช้ได้กับผู้หมดสติทั่วไปที่ไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผาก เอานิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งดึงคางขึ้น ใช้นิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้นจนฟันล่างถูกดึงขึ้นมาจนเกือบชนกับฟันบน
วิธียกขากรรไกรล่าง (jaw thrust)
ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกกรณี แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำยากและเมื่อยล้าเร็ว จึงแนะนำให้ใช้วิธีนี้กับกรณี ที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอเท่านั้น ผู้ปฎิบัติการช่วยชีวิตต้องไปอยู่ทางศีรษะของผู้หมดสติ วางมือทั้งสองข้างไว้ที่บริเวณแก้มซ้ายและขวาของผู้หมดสติให้นิ้วหัวแม่มือกดยันที่กระดูกขากรรไกรล่าง ตรงใต้มุมปากทั้งสองข้างนิ้วที่เหลือทั้งหมดเกี่ยวกระดูกขากรรไกรล่าง เอาข้อศอกยันบนพื้นที่ ผู้หมดสตินอนอยู่แล้วดึงกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นมา (ภาพที่ 6)
หมายเหตุ : ประชาชนทั่วไปควรฝึกหัดการเปิดทางเดินลมหายใจทั้งสองวิธี
ขั้นที่ 5. ตรวจดูว่าหายใจหรือไม่
โดยเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้หมดสติเพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติ ขณะที่ตาจ้องดูการเคลื่อนไหวหน้าอกของผู้หมดสติว่ากระเพื่อมขึ้นลงเป็นจังหวะหรือไม่ (ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส) โดยมือยังคงเปิดทางเดินลมหายใจอยู่ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 วินาที
หมายเหตุ:
1.ถ้าผู้หมดสติหายใจได้และไม่ใช่การหมดสติจากอุบัติเหตุหรือไม่สงสัยว่ามี การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังให้จัดท่าผู้หมดสติไว้ในท่าพักฟื้น (ภาพที่ 13)
2. ถ้าสงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคอ ไม่ควรขยับ หรือ จัดท่า ให้ผู้หมดสติเว้นเสียแต่ว่าหากไม่ขยับ ทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น
ขั้นที่ 6 เป่าลมเข้าปอด
ให้ทำการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้เองอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ให้เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้
วิธีที่ 1. เป่าแบบปากต่อปากพร้อมกับดันหน้าผากและดึงคาง
ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบที่จมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เพื่อให้ได้ความเข้มข้นของออกซิเจนในลมหายใจมากขึ้น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติ และเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้ หมดสติกระเพื่อมขึ้นเป่านาน 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออก ผ่านกลับ ออกมาทางปาก
วิธีที่ 2. เป่าแบบปากต่อปากขณะยกขากรรไกรล่าง
ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างดันขากรรไกรล่างให้ปากผู้หมดสติเผยอเปิดออก ก้มลงเอาแก้มปิดรูจมูกทั้งสองรู ไว้ให้แน่น ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติแล้วเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้น เป่านาน 2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก (ภาพที่ 9)
ขั้นที่ 7. หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
ถ้าผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกาย ให้ถือว่า ระบบไหลเวียนเลือดไม่ทำงาน ต้องช่วยกดหน้าอก ให้หาตำแหน่ง ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อวางมือเตรียมพร้อมสำหรับการกดหน้าอก โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคลำขอบชายโครงด้านใกล้ตัวผู้ปฏิบัติ แล้ว ลากขึ้นไปตามขอบกระดูกชายโครงด้านหน้าจนถึงจุดที่กระดูกชายโครง สองข้างมาพบกันซึ่งเป็นปลายล่างของกระดูกหน้าอกพอดี วางนิ้วมือ ทั้งสองถัดจากจุดนั้นขึ้นไปทางกระดูกหน้าอกเพื่อใช้เป็นที่หมาย แล้วเอาสันมือของอีกมือหนึ่งวางลงบนกระดูก หน้าอกตามแนวกลางตัวถัดจากนิ้วมือที่วางไว้เป็นที่หมาย ยกนิ้วมือที่วางเป็นที่หมายออกไปวางทาบ หรือ ประสานกับมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอก เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก (ภาพที่ 10)
อีกวิธีหนึ่งคือวางสันมือของมือหนึ่งไว้ตรงกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง แล้วเอาอีกมือหนึ่งไปวางทาบ หรือ ประสานกับมือแรกกะประมาณให้แรงกดลงตรงกึ่งกลางระหว่างหัวนมสองข้าง
หมายเหตุ: ปัจจุบันนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปคลำชีพจรก่อนทำการกดหน้าอก เพราะมีความผิดพลาดสูง คงแนะนำให้ใช้วิธีคลำชีพจรเฉพาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้มีหน้าที่ช่วยชีวิตโดยตรงเท่านั้น
ขั้นที่ 8. กดหน้าอก 15 ครั้งกดหน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 15 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกดประมาณ 100 ครั้ง/นาที โดยนับ หนึ่งและสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า ในการกดให้ใช้เทคนิคดังนี้
วางมือหนึ่งทาบบนอีกมือหนึ่งโดยไม่ประสาน หรือจะประสานนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันก็ได้ เพียงแต่ต้องคอยระวังให้น้ำหนักผ่านส้นมือล่างลงบนกระดูกหน้าอก ไม่ใช่ลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหักได้
ตรึงข้อศอกให้นิ่ง อย่างอแขน ให้แขนเหยียดตรง โน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติ ให้ทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก ถ้าแรงกดมีทิศทางเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แรงจะถูกแตกไปเป็นสองส่วนทำให้แรงที่จะกดหน้าอกในแนวดิ่งไม่มีประสิทธิภาพ
กดหน้าอกให้ยุบลงไปหนึ่งนิ้วครึ่งถึงสองนิ้วหรือ 4-5 ซม. ถ้ายุบมากกว่านี้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักยกเว้นถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มาก อาจต้องกดให้หน้าอกยุบลงไปมากกว่านี้ได้
ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด อย่าคาน้ำหนักไว้เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ แต่อย่าให้ถึงกับมือหลุดจากหน้าอกเพราะจำทำให้ตำแหน่งมือถูกเปลี่ยนไป
ขั้นที่ 9 เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 15 ครั้ง
เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้งสลับกับกดหน้าอก 15 ครั้งไปอย่างน้อยสี่รอบแล้วหยุดประเมินผู้หมดสติอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้ตัว ไม่หายใจ ไม่เคลื่อนไหว ก็เป่าลมเข้าปอดสลับกับกดหน้าอกต่อไปอีกคราวละ 4 รอบ จนกว่าผู้หมดสติจะรู้ตัว หรือ จนกว่าความช่วยเหลือที่เรียกไปจะมาถึง
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการจะเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ ควรช่วยชีวิตด้วยการ เปิดทางเดินลมหายใจแล้วกดหน้าอกอย่างเดียวขณะรอความช่วยเหลืออยู่ เพราะจะมีประโยชน์ต่อผู้หมดสติ มากกว่าการไม่ช่วยอะไรเลย
ขั้นที่ 10. เมื่อผู้หมดสติรู้ตัวแล้ว จัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น
จัดให้นอนตะแคงเอามือรองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมากเกินไป เพราะถ้าตะแคง คว่ำมากเกินไปกะบังลมจะขยับได้น้อย ทำให้หายใจเข้า-ออกได้น้อย การจัดท่าพักฟื้น (recovery) นี้ทำได้หลายแบบ แต่มีหลักโดยรวมว่า ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด ให้ศีรษะอยู่ต่ำเพื่อระบายของ เหลวออกมาจากทางเดินลมหายใจได้ เป็นท่าที่มั่นคงไม่ล้มง่าย ไม่มีแรงกดต่อทรวงอกซึ่งจะทำให้หายใจได้น้อย จัดท่ากลับมา นอนหงายโดยไม่ทำให้คอและศีรษะบิดได้ง่าย มองเห็น และ เข้าถึงปากและจมูกได้ง่าย เป็นท่าที่ไม่ก่อนให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้ป่วย
หมายเหตุ : ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคอ ไม่ควรขยับหรือจัดท่าใดๆ ให้ผู้หมดสติเว้นเสีย แต่ว่าหากไปไม่ขยับทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น
|