www.ClinicalTrials.in.th
การลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก (Thai Clinical Trials Registry :TCTR)
Thai Clinical Trials Registry (TCTR) ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ และได้เงินทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน): TCELS และได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากร ด้านปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ รวมทั้ง server ของฐานข้อมูล มาจากเครือข่ายวิจัยคลินิก สหสถาบัน/เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (CRCN/MedResNet) และ มูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์ (MRF) โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ให้การรับรอง TCTR อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
ทำไมต้องมีการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกมีความสำคัญอย่างไร
1. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานวิจัย เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นที่ทำขึ้นแล้วแต่ไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ ซึ่งอาจเป็นผลงานวิจัยที่เป็นผลลบหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย ซึ่งจะมีผลเสียต่อวงการแพทย์ในระยะยาว
2. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยเพิ่มขึ้น
3. เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองทรัพยากรวิจัยของโลก/ประเทศ
4. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย และ ผู้ป่วย
นักวิจัยได้ประโยชน์อะไรจากการลงทะเบียนงานวิจัยในฐานข้อมูล TCTR
1. งานวิจัยทางคลินิกแบบทดลองที่ได้ลงทะเบียนก่อนที่จะศึกษาวิจัยในอาสาสมัครรายแรกมีโอกาสลงตีพิมพ์ในวารสารในกลุ่มของ ICMJE หรือวารสารอื่นที่ใช้ข้อบังคับตาม ICMJE
2. สามารถลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกทุกประเภท
- แบบทดลองทางคลินิก (Clinical Trial)
- แบบสังเกตหรือเชิงบรรยาย Observational/descriptiveได้
3. นักวิจัยสามารถสื่อสารกับระบบทะเบียนได้สะดวกเพื่อให้การลงทะเบียนมีความถูกต้องมากขึ้น
4. การทำวิจัยมีความโปร่งใส เป็นที่เปิดเผยแก่ประชาชน เพิ่มโอกาสความเข้าใจในงานวิจัยและการเข้าเป็นอาสาสมัครในโครงการวิจัยทางการแพทย์
ประเทศและกระทรวงสาธารณสุขได้อะไร
1. AEC 2015: กระทรวงสาธารณสุขใช้ TCTR เป็นจุดขาย ด้านความเป็นสากลของงานวิจัยด้านสุขภาพของประเทศและสามารถรองรับความต้องการของประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย
2. รองรับ Benchmark กับนานาชาติ-งานวิจัยทางการแพทย์ในอนาคตของประเทศอนาคตมาตรฐานสากล
- ด้านจริยธรรมการวิจัย Declaration of Helsinki
- มาตรฐานงานวิจัย/มาตรฐานการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ICMJE
3. กระทรวงสาธารณสุขมีระบบรองรับกฏหมายหรือข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุข/อย.ของไทยด้านยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ วัคซีนของประเทศที่จะมีในอนาคต
4. ด้านการพัฒนาศักยภาพวิจัยของแพทย์ในระบบกระทรวงสาธารณสุขเป็นแหล่งสืบค้น ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยที่จะคงอยู่ตลอด
5. สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลด้านการวิจัยของบุคคลากรในกระทรวงสาธารณสุข
Thai Clinical Trials registry to become a primary registry in the Registry Network in WHO Registry Network
DOWNLOAD เอกสารเพิ่มเติม TCTR Brochure_Ver 1.pdf