คณะกรรมการอำนวยการสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ
พ.ศ. 2565-2567
ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๙ แพทย์ซึ่งสนใจในวิชาโรคหัวใจยังมิได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพียงแต่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้วิชาการ เป็นครั้งคราวมีการประชุมวิชาการทุกเดือน หมุนเวียนตามโรงพยาบาล ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ โรงพยาบาลซึ่งมีการประชุมวิชาการทางโรคหัวใจในขณะนั้นได้แก่ โรงพยาบาล ศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ โรงพยาบาลโรคปอด นนทบุรี ชมรมของกลุ่มแพทย์ผู้สนใจนี้เดิมเรียกว่า "Heart Club"
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๙ นายแพทย์ มรว.พัชรีสาณ ชุมพล ได้ริเริ่มที่จะจัดตั้งสมาคมฯ ในบรรดาผุ้ที่อยู่ในกลุ่มริเริ่มก่อตั้งสมาคมฯ ได้ศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิช นายแพทย์กมล สินธวานนท์ นายแพทย์กัมพล ประจวบเหมาะ นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย นายแพทย์ธาดา ชาคร และยังรับแรงกระตุ้นจาก Dr.Patrick A. Ongley จาก Mayo Clinic และ Dr. J. Agnon เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคหัวใจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค
ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าถ้ามีสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยแล้ว นอกจากจะก่อให้เกิดสามัคคี ธรรอันดีเพิ่มพูนแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่สมาชิกของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นโอกาส อันดีที่จะติดต่อ กับสมาชิกสมาคมแพทย์โรคหัวใจของประเทศอื่น ๆ ในฐานะเท่าเทียมกันโดยอาศัยสมาคมเป็นศูนย์กลางการติดต่อ รวมทั่งมีการติดต่อกับสมาคมแพทย์โรคหัวใจระหว่างชาติ จะเป็นโอกาสอันดี สำหรับสมาชิกสมาคมแพทย์โรคหัวใจ จากประเทศไทยที่จะได้ไปพบปะแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกสมาคม ระหว่างประเทศเหล่านี้ด้วย
ประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กลุ่มผู้ริเริ่มพร้อมด้วยแพทย์ที่สนใจร่วมชมรมรวมประมาณ ๓๐ คน ได้พบปะเพื่อการก่อตั้งสมาคมที่ภัตราคารเล่งหงษ์ สีลม และในที่สุดสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ก็ได้จดททะเบียนถูกต้องตามกฏหมายเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๐ และมีการเลือกตั้งคณะกรรมการของ สมาคมฯ ดังรายนามต่อไปนี้
ศาสตราจารย์นายแพทย์ |
กษาน |
จาติกวนิช |
นายก |
นายแพทย์ |
กมล |
สินธวานนท์ |
อุปนายก |
นายแพทย์ |
มรว.พัชรีสาณ |
ชุมพล |
เลขาธิการ |
นายแพทย์ |
วรวิทย์ |
วงศ์ทองศรี |
เหรัญญิก |
นายแพทย์ |
วิบูลย์ |
วิชยานนท์ |
ปฏิคม |
นายแพทย์ |
กัมพล |
ประจวบเหมาะ |
กรรมการ |
นายแพทย์ |
โชติบูรณ์ |
บุรณเวช |
กรรมการ |
นายแพทย์ |
ธาดา |
ชาคร |
กรรมการ |
นายแพทย์ |
นิกิตต์ |
สำรวจรวมผล |
กรรมการ |
นายแพทย์ |
จินต์ |
เจียมประภา |
กรรมการ |
นายแพทย์ |
ชุมพล |
วงศ์ประทีป |
กรรมการ |
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Heart Association of Thailand สำนักงานชั่วคราวของสมาคมฯ อยู่ที่ตึกตั้งตรงจิตร โรงพยาบาลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย ธนบุรี สมาชิกมี ๓ ประเภท คือ สมาชิกสามัญ กิตติมศักดิ์ และสมทบ สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง และมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมความรู้ของสมาชิกในวิชาโรคหัวใจให้ก้าวหน้าและทันเหตุการณ์
- ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิก
- ช่วยเหลือให้ประชาชนได้เข้าใจถึงข้อที่น่ารู้บางอย่างเกี่ยวกับโรคหัวใจ
- เผยแพร่และโฆษณาความรู้ว่าด้วยโรคหัวใจ
- ส่งเสริมการวิจัยของแพทย์ทุกสาขาที่อาจช่วยให้วิชาโรคหัวใจก้าวหน้าได้
ในระยะต้น สมาคมฯ มีสมาชิกสามัญ ๓๙ คน และสมาชิกสมทบ ๓ คน มีผู้บริจาคเงินให้สมาคมฯ คือศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน และคุณหญิงสุมาลี จาติกวนิช ๑๐๐๐๐ บาท นายแทพย์กุณฑล สุนทรเวช ๑๐,๐๐๐ บาท นายภูษณาภรณ์ ไกรฤกษ์ ๔,๐๐๐ บาท งานสมาคมฯ ที่ได้เริ่มทำประกอบด้วย
การประชุมทางวิชาการ ของสมาคมฯ โดยจัดหมุนเวียนให้โรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลโรคทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ ตอนหลังมีโรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลภูมิพลร่วมด้วย
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในเดือนมีนาคม มีการประชุมทั้งวิชาการและธุรการพร้อมการรับ ประทานอาหารร่วมกัน
ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นมา สมาคมฯ ได้เริ่มจัดให้มีการอบรมฟื้นฟูวิชการโรคหัวใจให้แก่ แพทย์ทั่วไป โดยจัดหมุนเวียนให้โรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพ การอบรมเป็นที่สนใจของแพทย์ทั่วไปมาก โดยมีผู้สมัครเข้ารับการอบรมเพิ่มขี้น เรื่อย ๆ จากเริ่มต้นปีแรก ๒๐ คน จนถึงปี ๒๕๓๔ รับผู้เข้าอบรมในปีนี้ ถึง ๑๑๐ คน
เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคหัวใจ แก่ประชาชนโดยการบรรยายทางวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๓ องค์การอนามัยโลกได้เลือกเอาเรื่องการต่อต้านโรคหัวใจ เป็นมติสำคัญ และได้แจ้งมายังสถาบันที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือการรณรงค์เพื่อต่อต้านโรคหัวใจทางสมาคมฯ ด้วยความร่วมมือกับกรมอนามัยได้จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้เรื่อง โรคหัวใจทางหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์และโดยการจัดนิทรรศการ ทำให้สมาคมฯ มีรายได้จากการบริจาครวมทั้งสิ้น เป็นเงิน ๑,๔๘๙,๑๙๖.๔๔ บาท ทั้งนี้ด้วยความสนับสนุนของ ฯพณฯ พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศื รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขณะนั้น และด้วยความช่วยเหลือดอย่างดียิ่งจาก คุณหญิง มล.นวลผ่อง เสนาณรงค์ และคุณหญิงสุมาลี จาติกวนิช
เนื่องจากสมาคมฯ มีฐานะทางการเงินดีขี้น ฉะนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้เริ่มให้ทุนอุดหนุนเพื่อ การวิจัยเป็นครั้งแรก และได้ดำเนินเรื่อยมา และตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ เป็นต้นไปสมาคมฯ ได้วางระเบียบ พิจารณาให้ทุนช่วยเหลือสมาชิกในการไปร่วมประชุมต่างประเทศเพิ่มเติมด้วย
ในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ทางสมาคมฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asian Pacific Congress of Cardiology ครั้งที่ 7 ขี้นที่ กรุงเทพฯ โดยมี นพ.กมล สินธวานนท์ เป็นประธานจัดการประชุมและ นพ.ชุมพล วงศ์ประทีป เป็นเลขาธิการ ซึ่งได้รับผลสำเร็จอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมประชุมถึง ๑,๐๖๒ คน มีเงินเหลือจากการจัดประชุม และโอนให้เป็นทรัพย์สินของสมาคมฯ เป็นจำนวน ๒,๔๖,๒๕.๒๑ บาท ทำให้สมาคมฯ มีทุนทรัพย์เพิ่มมากขี้น มีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขี้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ พนักงานวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง หัวใจและปอดเทียม ใน รพ. ที่ทำการผ่าตัดหัวใจชนิด เปิดได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมนักปฏิบัติการเครื่อง หัวใจและปอดเทียมขึ้น ด้วยการสนับสนุนของสมาคมแพทย์โรคหัวใจ ได้จัดให้มีการบรรยายและอบรมระยะสั้น ขี้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26-28 พฤศจิกายน ๒๕๒๓ โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและแพทย์ โรคหัวใจในประเทศมาบรรยาย และได้จัดขี้นทุกปีเป็นประจำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีกาประชุม จะมีแพทย์และพยาบาลจากสาขาอื่นที่ทำงานร่วมกันมาร่วมฟังบรรยายด้วยเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔
6.1 สมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยขื้น โดยได้รับการลงคะแนนเสียง ของสมาชิกฯ เป็นเอกฉันท์ในการประชุมใหญ่วิสามัญกลางปีให้สมาคมดำเนินการจัดตั้งได้ ต่อมาได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงดำรงตำแหน่ง องค์ประธานมูลนิธิฯ เมื่อความทราบฝ่าละอองพระบาทแล้ว ทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิหัวใจ แห่งประเทศไทย ตามที่มีหนังสือตอบรับของ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๔ และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๒๔ มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมปฏิบัติการป้องกันและอบรมความรู้ แก่แพทย์พยาบาล และประชาชนโดยทั่วไป ร่วมกับสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ เป็นประจำทุกปีตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน มูลนิธิหัวใจได้รับอนุมัติจาก ISFC ให้เป็นสมาชิกขององค์การนี้ร่วมกับสมาคมแพทย์ โรคหัวใจฯ เมื่อเดือน มีนาคม ๒๕๒๘ โดยมีลิขสิทธิส่งผู้แทนของมูลนิธิไปร่วมประชุมกับผู้ แทนสมาคมแพทย์โรคหัวใจ ในการประชุมที่สำคัญ ๆ ของ ISFC และ APSC
6.2 คุณชำนาญ ลือประเสริฐ คหบดีผู้ใจบุญของจังหวัดสมุทรสาคร และกทม. ได้กรุณาให้ดัดแปลงบ้าน ที่ท่านเคยอยู่ เลขที่ ๗๐ ถนนตีทอง ตรงข้ามวัดสุทัศน์ ใกล้เสาชิงช้า เป็นสถานที่ตั้งและ ห้องประชุมของสมาคมแพทย์โรคหวใจฯ ได้มีพิธีเปิดป้าย ณ ที่ทำการ วันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๒๕ โดยมีเจ้าคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์วราราม เป็นประธานในพิธีให้ศิลและ เจิมป้าย
6.3 สมาคมฯ ได้เริ่มจัดการประชุมวิชาการโรคหัวใจในส่วสภูมิภาค ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาระหว่าง วันที่ ๑๖-๑๗ มกราคม ๒๕๒๕ ปรากฏว่าได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นแพทย์ รวม ๑๔๔ คน
6.4 คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ลงมติให้จัดการพิมพ์ตำราภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องหัวใจ ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนในโรงเรียนแพทย์ และในการศึกษาระดับหลังปริญญา จึงได้แต่งตั้ง ให้ นายแพทย์สมชาติ โลจายะ เป็นบรรณาธิการ นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ และนายแพทย์ พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ ดำเนินการจัดพิมพ์ ตำราโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีสมาชิกของสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ หลายท่านเป็นผู้ร่วมแต่งตำรา สมาคมฯ ได้ออกทุนในการจัดพิมพ์ ทั้งหมด ทำให้ตำราเล่มนี้ซึ่งหนามากกว่า ๘๐๐ หน้า ขายได้ในราเพียง ๔๐๐ บาท ได้รับความสนใจจาก นักศึกษาแทพย์ แพทย์ และพยาบาลโดยทั่วไปเป็นอันมาก ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม และได้จำหน่ายหมาดไปภายในระยะเวลาเพียง ๒ ปี
สมาคมฯ ร่วมกับนายแพทย์ James H. Martin และคณะด้วยการสนับสนุนจาก American Heart Association จัดการฝึกอบรมชั้นสูงเกี่ยวกับปฏิบัติการช่วยชีวิต Advanced Cardiac Life Support ขี้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และทวึปเอเซีย ที่โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๒๕ โดยมีแพทย์โรคหัวใจและวิสัญญีแพทย์ ๔๙ คน จากโรงพยาบาลทั้งในกทม. และส่วนภูมิภาค เข้าฝึกอบรม ทำให้มีความก้าวหน้าในการทำและฝึกอบรมการปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วย Cardiac Resuscitation และงานได้ขยายออกไปทั่วประเทศ
การประชุมและการอบรมวิชาการส่วนภูมิภาค
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ได้จัดการอบรมฟื้นฟูวิชการโรคหัวใจร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิภาค รวมทั้งสิ้น ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๖-๑๗ มกราคม ๒๕๒๕
ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
สถานที่ โรงแรมโนรา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๔-๑๕ มกราคม ๒๕๒๖
ร่วมกับมหาวิทยาเชียงใหม่ |
สถานที่ โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ |
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม ๒๕๒๗
ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่ ขอนแก่นโฮเต็ล จังหวัดขอนแก่น |
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๒๔-๒๖ มกราคม ๒๕๒๙
ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
สถานที่ โรงแรม ลี การเดน หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
หลังจากสมาคมฯ ได้เป็นสมาชิกขององค์การสมาคมแทพย์โรคหัวใจในประะเทศกลุ่มอาเซียน ASEAN Federation of Cardiology ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็ได้ส่งผู้แทนสมาคม และสมาชิกไปร่วม ประชุมวิชาการทุก ๑-๒ ปี ที่ประเทศสมาชิกจัดการประชุมขี้น โดยเริ่มต้นที่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซียตามลำดับ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สมาคมแพทย์โรคหัวใจได้รับเกียรติให้จัด การประชุม ASEAN Congress of Cardiology ครั้งที่ ๕ ขี้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ นายแพทย์กัมพล ประจวบเหมาะ เป็นประธานจัดการประชุม และนายแทพย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ เป็นเลขาธิการ โดยใช้สถานที่จัดการประชุม Bangkok Convention Center บริเวณโรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า ปรากฏว่าได้รับผลสำเร็จอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๓๓ ประเทศ มากกว่า ๙๐๐ คน และมีรายได้เหลือดจากการประชุม โอนให้สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งปประเทศไทย เป็นเงินจำนวน ๒,๙๗๔,๑๙๑.๐๐ บาท
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สมาคมฯ แต่งตั้งให้นายแพทย์ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ เป็นบรรณาธิการ จัดทำวารสารโรคหัวใจขี้นเป็น Official Journal ของสมาคมฯ
สมาคมฯ ได้ตั้งกรรมการร่างหลักสูตรการฝึกอบรมอายุรศาสตร์หัวใจ และกุมารเวชศาสตร์ โรคหัวใจและเสนอแพทยสภาให้อนุมัติ ให้มีการฝึกอบรมได้เริ่ม ปี พ.ศ. ๒๕๓๒
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฯ
- ส่งเสริมความรู้ของสมาชิก ในวิชาโรคหัวใจให้ก้าวหน้าและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
- ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิก
- ช่วยเหลือให้ประชาชนได้เข้าใจถึงข้อน่ารู้บางอย่าง เกี่ยวกับโรคหัวใจ
- เผยแพร่ และโฆษณาความรู้ว่าด้วยวิชาโรคหัวใจ
- ส่งเสริมการวิจัยของแพทย์ทุกสาขา ที่อาจจะช่วยให้วิชาโรคหัวใจก้าวหน้าได้
- แลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับสมาคมโรคหัวใจในต่างประเทศ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง
|